บทนำ

บทนำ

โหราศาสตร์ไทยมีอยู่คู่เมืองไทยมาเป็นเวลานาน   และก็มีการสอนอยู่ด้วยกันหลากหลายสำนักโดยมีครูอาจารย์ผู้ทรงความรู้เป็นผู้เผยแพร่ความรู้ให้กับคน...

18 กันยายน 2563

จรราศี สถิรราศี อุภัยราศี ใช้อย่างไร

            ความแตกต่างระหว่างการพิจารณาแต่ละราศีด้วยระบบธาตุ และพิจารณาตามกำลังราศีทั้ง 3 ลักษณะ จะสามารถแยกแยะทั้งสองระบบให้เห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนดังนี้

ธาตุทั้ง 4 ในแต่ละราศีจะส่งผลด้านพฤติกรรมได้ดังนี้ (ควรดูภาพประกอบให้รู้ว่าราศีใดเป็นธาตุใด)
- ราศีธาตุไฟ มีคุณสมบัติในลักษณะอาการร้อนรน กระตือรือล้น ทะเยอทะยาน ดิ้นรน กระฉับกระเฉง
- ราศีธาตุน้ำ มีคุณสมบัติในลักษณะอาการนุ่มนวลเยือกเย็น เฉื่อยแฉะ
- ราศีธาตุลม มีคุณสมบัติในลักษณะความหุนหันพลันแล่น ความรววดเร็ว วู่วาม
- ราศีธาตุดิน มีคุณสมบัติในลักษณะความมั่นคงหนักแน่น ความสงบถาวร เป็นหลักเป็นฐาน

การแบ่งราศีตามกำลังของราศีได้ 3 กลุ่ม คือ (ดูจากภาพได้เช่นกัน)
1. จรราศี ได้แก่ ราศีแม่ธาตุ หรือ ราศีต้นธาตุ ทั้งสี่ คือราศีเมษ ราศีกรกฎ ราศีตุลย์ และราศีมังกร ราศีเหล่านี้เป็นราศีที่ไม่หยุดนิ่ง เป็นราศีแห่งการเคลื่อนไหว รวดเร็ว และ รุนแรง เป็นราศีแห่งการต่อสู้ดิ้นรน
2. สถิรราศี ได้แก่ ราศีกลางธาตุ คือราศีพฤษภ ราศีสิงห์และราศีกุมภ์ ราศีเหล่านี้เป็นราศีแห่งความมั่นคง อยู่กับที่ หนักแน่น
3. อุภัยราศี ได้แก่ ราศีปลายธาตุ ได้แก่ราศีมิถุน ราศีกันย์และราศีมีน ราศีเหล่านี้เป็นราศีที่มีความไม่แน่นอนไม่มั่นคงในบางครั้งเราเรียกว่าทวิ ภาวะราศี ซึ่งแปลว่าราศีสองสภาวะ
ถ้าพิจารณาตามระบบธาตุแล้ว การแบ่งราศี 3 ลักษณะนี้จะไม่ถูกต้องนัก เพราะธาตุของแต่ราศีจะส่งผลด้านพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป โดยผมจะเปรียบเทียบการพิจารณาด้วยระบบธาตุแต่ละราศีควบคู่กับการพิจารณาการแบ่งราศีตามกำลังทั้ง 3 ลักษณะ(ตามที่กล่าวข้างต้น) เพื่อให้ผู้อ่านลองไตร่ตรองดูว่าการแบ่งราศีโดยแยกเป็น 3 ลักณะนี้ถูกต้องแค่ไหน
- ราศีเมษ เรือนธาตุไฟ (จรราศี) ในส่วนนี้จะใกล้เคียงกันเพราะมีความเคลื่อนไหว,รวดเร็ว,รุนแรง แต่ระบบธาตุจะเป็นเพิ่มเติมความหมายของดาวอังคารที่เปนดาวเจ้าเรือนเข้าไปด้วย ทำให้เกิดความหมายด้านการแข่งขัน-ต่อสู้,การใช้อารมณ์โทสะ ฯลฯ
- ราศีพฤษภ เรือนธาตุดิน (สถิรราศี) ในส่วนนี้จะใกล้เคียงกันเพราะหมายถึงความมั่นคง,อยู่กับที่,หนักแน่น แต่ทางระบบธาตุจะขยายความหมายด้วยดาวเจ้าเรือนคือดาวศุกร์เข้าไปด้วย ทำให้เกิดความหมายของความสุข,ความสบาย,ความรักที่สะสมหรือใช้ระยะเวลา ฯลฯ
- ราศีมิถุน เรือนธาตุลม (อุภัยราศี) ในส่วนนี้จะใกล้เคียงกันเพราะเป็นความไม่แน่นอน แต่ระบบธาตุจะเพิ่มเติมความหมายของดาวพุธที่เป็นดาวเจ้าเรือนเข้าไปด้วย ทำให้เกิดความหมายด้านความคิดที่ฟุ้งซ่าน,การพูดจาที่เลื่อนลอย,การเจรจาที่เชื่อถือไม่ค่อยได้,การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า,ไหวพริบ ฯลฯ
-ราศีกรกฎ เรือนธาตุน้ำ (จรราศี) ในส่วนนี้ความใกล้เคียงกันในความหมายด้านการเคลื่อนไหวยังต้องมีข้อแม้สักหน่อย เพราะหากจะพิจารณาด้วยระบบธาตุจะเห็นว่าการเคลื่อนไหวจากราศีนี้ต้องเป็นการถูกชักจูง,ถูกโน้มน้าว,คล้อยตาม ฯลฯ เพราะราศีธาตุน้ำไม่ได้ทำให้ดาวที่เข้ามาสถิตเกิดสภาวะของการตัดสินใจที่ไม่ดีนัก,ไม่ค่อยมีความเป็นตัวของตัวเอง เพราะเกิดความอ่อนโยนคล้อยตามผู้อื่นได้ง่าย และยังทำให้ดาวมีพฤติกรรมของผู้ตามมากกว่าผู้นำ ส่วนในด้านความรุนแรงนั้นจะไม่มีเกิดขึ้นในราศีกรกฎอย่างแน่นอน
วันนี้อธิบายคร่าวๆแค่ 4 ราศีก่อน เดี๋ยวค่อยๆเข้ามาเพิ่มเติมในคราวหน้าให้ครบทั้ง 12 ราศี รับรองว่าจะเห็นความแตกต่างและความขัดแย้งอย่างชัดเจนในอีกหลายราศีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อ.ทนัญ โหราศาสตร์ไทย ระบบธาตุ